โลจิสติกส์และดิจิทัลซัพพลายเชน


Logistics and Digital Supply Chain (LD)

หลักสูตรวิทยาศาสตร์บัณฑิต สาขาโลจิสติกส์และดิจิทัลซัพพลายเชน (Logistics and Digital Supply Chain - LD)
สถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น (TNI)
มุ่งผลิตบัณฑิตที่มีความรู้และทักษะที่ครบถ้วน พร้อมที่จะเป็นผู้นำด้านโลจิสติกส์และซัพพลายเชนในยุคดิจิทัล

มาเชื่อมโยงอนาคตด้วยดิจิทัลซัพพลายเชนและโลจิสติกส์ยุคใหม่

หลักสูตรที่บูรณาการความรู้ด้านโลจิสติกส์และดิจิทัลซัพพลายเชน มุ่งเน้นการเรียนรู้และประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลสมัยใหม่ในกระบวนการจัดการซัพพลายเชน (Supply Chain) ทั้งในด้านการวิเคราะห์ข้อมูล การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีและระบบสารสนเทศ และการจัดการโลจิสติกส์แบบอัจริยะเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและความคล่องตัวในธุรกิจ

จุดแข็งด้านความร่วมมือกับองค์กรภายนอก

จากการสนับสนุนจากเครือข่ายของสถาบันในประเทศญี่ปุ่น ทำให้นักศึกษามีโอกาสเรียนรู้และได้รับการฝึกฝนในกระบวนการเรียนรู้ที่มีความหลากหลาย โดยได้รับการสนับสนุน จากองค์กรและบริษัทจากประเทศญี่ปุ่นทำให้มีความรู้และทักษะที่เป็นที่ต้องการในตลาดงานทั้งในประเทศและต่างประเทศ นอกจากนี้ในระหร่างเรียนยังมีโอกาสในการไปแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ณ ประเทสญี่ปุ่นอีกด้วย

การฝึกลงมือปฎิบัติจริง

หลักสูตรเน้นการฝึกปฏิบัติจริงผ่านโครงการต่างๆ ทั้งในและนอกชั้นเรียน เช่น การฝึกงานในบริษัทพันธมิตรของสถาบัน หรือการทำโครงการร่วมกับอุตสาหกรรม เพื่อให้นักศึกษาได้สัมผัสกับปัญหาและสถานการณ์จริงในการจัดการโลจิสติกส์และซัพพลายเชน

การเรียนรู้ด้วยเทคโนโลยีใหม

หลักสูตรให้ความสำคัญกับการเรียนรู้เทคโนโลยีใหม่ๆ เช่น ระบบ ERP (Enterprise Resource Planning), IoT (Internet of Things), Blockchain, และ Big Data ซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่มีบทบาทสำคัญในการจัดการซัพพลายเชนในยุคดิจิทัล

การพัฒนาทักษะด้าน Soft Skills

นอกจากทักษะทางวิชาการแล้ว หลักสูตรยังมุ่งเน้นการพัฒนาทักษะด้าน Soft Skills เช่น การสื่อสาร การทำงานเป็นทีม การคิดวิเคราะห์ และการแก้ปัญหา ซึ่งเป็นทักษะที่สำคัญในการทำงานในสภาพแวดล้อมธุรกิจที่เปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ ผ่านโครงการบริษัทจำลอง “Logistics TNI Dummy Company” ที่กิจกรรมการเรียนรู้แบบ Project Based Learning ที่นักศึกษาจะได้ทดลองการทำงานร่วมกันและฝึกฝนทักษะการทำงานแบบเป็นทีม

ความแตกต่างด้านภาษา (ภาษาอังกฤษและภาษาญี่ปุ่น)

นักศึกษาจะต้องเรียนวิชาบังคับทั้งภาษาอังกฤษ-ภาษาญี่ปุ่น อย่างน้อย 36 หน่วยกิต ซึ่งจะเป็นจุดแข็งที่ช่วยเตรียมความพร้อมให้นักศึกษาในการทำงาน ในองค์กรที่มีความเป็นสากล รวมถึงการทำงานในบริษัทต่างประเทศ

การเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง

หลักสูตรเปิดโอกาสให้นักศึกษาเรียนรู้อย่างต่อเนื่องด้วยการเข้าร่วมสัมมนา เวิร์กช็อป และการฝึกอบรมจากผู้เชี่ยวชาญในอุตสาหกรรม ทำให้สามารถอัปเดตความรู้และทักษะใหม่ๆ อยู่เสมอ

เนื้อหาพื้นฐานของหลักสูตร
  • Logistics Skills - พัฒนาทักษะที่สำคัญด้านการจัดการโลจิสติกส์ ประกอบด้วย สินค้าคงคลัง คลังสินค้า การขนถ่ายวัสดุ ขนส่ง กระจายสินค้า จัดหา จัดซื้อ การส่งออกและนำเข้า
  • ซอฟต์แวร์ด้านโลจิสติกส์ที่สำคัญกับสายอาชีพ คือ SAP, TMS, LTMA, LMS, WMS
  • องค์ความรู้สำหรับผู้บริหาร เช่น การจัดการต้นทุน การประเมินผลงาน รวมทั้งกลยุทธ์ในงานโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน
  • ภาษาญี่ปุ่น
เนื้อหาเสริมสร้างจุดเด่นและความน่าสนใจ
  • J-Logistics แนวคิดการจัดการโลจิสติกส์แบบญี่ปุ่น ด้วยหลักการ JIT (Just In Time) , TPS (Toyota Production System) Logistics
  • การบูรณาการการเรียนรู้ร่วมกับการทำงานด้านโลจิสติกส์ (Work Integrated Learning)
  • โลจิสติกส์สีเขียว (Green Logistics)
  • โลจิสติกส์แบบลีน (Lean Logistics)
  • การบริหารความสัมพันธ์ในโซ่อุปทานตามแนวทางญี่ปุ่น (Japanese Style relationship management in Supply chain, Keritsu)
  • เทคโนโลยีบล็อกเชนสำหรับการจัดการซัพพลายเชน (Blockchain Technology for Supply Chain Management)
เอกลักษณ์ของหลักสูตรที่แตกต่างจากสถาบันอื่น ๆ
  • “Logistics TNI Dummy Company” เป็นการเรียนการสอนแบบ Project Based Learning ตลอดการเรียน 3.5 ปี ด้วยการบูรณาการองค์ความรู้ กับโครงงานประจำภาคเรียน ที่เกี่ยวข้องกับการสร้างนวัตกรรมทางธุรกิจและแผนธุรกิจโลจิสติกส์ฯ
จำนวนหน่วยกิตรวม 124 หน่วยกิต
หมวดวิชาศึกษาทั่วไป 33 หน่วยกิต
หมวดวิชาเฉพาะ 85 หน่วยกิต
หมวดวิชาเลือกเสรี 6 หน่วยกิต
  สมัครเรียน

อาชีพที่สามารถทำได้

op_job
1 . นักวางแผนซัพพลายเชน (Supply Chain Planner)
2 . นักวิเคราะห์ข้อมูล (Data Analyst) ด้านซัพพลายเชน
3 . ผู้เชี่ยวชาญด้านการขนส่ง (Transportation Specialist)
4 . ผู้จัดการคลังสินค้า (Warehouse Manager)
5 . ผู้จัดการโลจิสติกส์ (Logistics Manager)
6 . ผู้จัดการซัพพลายเชน (Supply Chain Manager)
7 . ผู้เชี่ยวชาญด้านระบบสารสนเทศ (IT Specialist) ด้านโลจิสติกส์และซัพพลายเชน
8 . เจ้าของกิจการ ผู้ประกอบการด้านโลจิสติกส์

คุณสมบัติผู้สมัครเข้าเรียน

หลักสูตรปกติ (4 ปี)
  • สำเร็จการศึกษา ม.6 หรือเทียบเท่า ม.6
  • หรือ ปวช. ทุกสาขาวิชา
  • มีสภาพความเป็นนักศึกษาและสามารถปฏิบัติตนอยู่ในระเบียบของสถาบันฯ และสังคม
หลักสูตรพิเศษ (เทียบโอน ปวส.) (2 ปี)
  • จบ ปวส.เทียบเท่า/ กำลังศึกษาระดับ ป.ตรี
  • สำเร็จการศึกษาระดับ ป.ตรี
  • มีสภาพความเป็นนักศึกษาและสามารถปฏิบัติตนอยู่ในระเบียบของสถาบันฯ และสังคม

Framework

ld1 ld1

โครงสร้างหลักสูตร (หลักสูตรใหม่ พ.ศ. 2568)

จำนวนหน่วยกิตรวม 124 หน่วยกิต
หมวดวิชาศึกษาทั่วไป 33 หน่วยกิต
มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ 3 หน่วยกิต
วิทย์และคณิต 3 หน่วยกิต
ภาษา 24 หน่วยกิต
หมวดวิชาเฉพาะ 85 หน่วยกิต
กลุ่มวิชาพื้นฐาน 24 หน่วยกิต
กลุ่มวิชาบังคับ 30 หน่วยกิต
กลุ่มวิชาฝึกปฏิบัติ
- สหกิจ 7 หน่วยกิต
- ฝึกงาน 1 หน่วยกิต
กลุ่มวิชาเลือกสาขา
- สหกิจ 24 หน่วยกิต
- ฝึกงาน 30 หน่วยกิต
หมวดวิชาเลือกเสรี 6 หน่วยกิต
** วิชาเลือกสาขาวิชา **
  • Cold Chain Logistics
  • Digital Procurement
  • Blockchain Technology
  • Robotics and Artificial Intelligence
  • Big Data Analysis
  • Smart Factory (Smart Monodzukuri)
  • Toyota Production System (TPS)
  • Shindan in Logistics

แผนการศึกษา

ภาคการศึกษาที่ 1
ENL-121 ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร
JPN-101 ภาษาญี่ปุ่นธุรกิจ 1
MSC-111 คณิตศาสตร์และการประยุกต์ 1
SCM-105 โลจิสติกส์และดิจิทัลซัพพลายเชนเบื้องต้น
SCM-106 การจัดการการปฏิบัติการและเทคโนโลยี
รวม 15 (15-0-30)
ภาคการศึกษาที่ 2
ENL-122 พัฒนาทักษะทางภาษาอังกฤษ
JPN-102 ภาษาญี่ปุ่นธุรกิจ 2
SCM-103 การจัดการธุรกิจโลจิสติกส์และดิจิทัลซัพพลายเชน
MSC-113 วิทยาศาสตร์พื้นฐานเชิงอุตสาหกรรม
SCM-102 การใช้คอมพิวเตอร์ในงานด้านโลจิสติกส์
SCM-206 การวิเคราะห์เชิงปริมาณและสถิติธุรกิจ
SCM-194 การบูรณาการการเรียนรู้ร่วมกับการทำงานด้านโลจิสติกส์ 1 (WIL 1)
รวม 19 (17-2-37)
ภาคการศึกษาที่ 1
ENL-221 ภาษาอังกฤษเพื่อการทำงาน
JPN-201 ภาษาญี่ปุ่นธุรกิจ 3
SCM-204 การบัญชีและการเงินเพื่อการจัดการธุรกิจโลจิสติกส์
SCM-207 เทคโนโลยีและการจัดการการขนส่ง
SCM-205 การเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์เบื้องต้น (Computer Programing)
XXX-xxx วิชาเลือกสาขา 1
รวม 18 (17-2-35)
ภาคการศึกษาที่ 2
BUS-208 กฎหมายธุรกิจและกฎหมายโลจิสติกส์
XXX-xxx วิชาเลือกภาษา 1
SCM-320 เทคโนโลยีการวัดผลการปฏิบัติงานด้านโลจิสติกส์
SCM-319 เทคโนโลยีและการจัดการคลังสินค้า
SCM-310 การจัดหาและจัดซื้อในโซ่อุปทานแบบดิจิทัล
XXX-xxx วิชาเลือกสาขา 2
SCM-294 การบูรณาการการเรียนรู้ร่วมกับการทำงานด้านโลจิสติกส์ 2 (WIL 2)
รวม 19 (19-0-38)
ภาคการศึกษาที่ 1
XXX-xxx วิชามนุษยศาสตร์หรือสังคมศาสตร์
XXX-xxx วิชาเลือกภาษา 2
SCM-321 เทคโนโลยีด้านโลจิสติกส์และการขนถ่ายวัสดุ
SCM-316 โลจิสติกส์และโซ่อุปทานสีเขียว (Green Logistics)
XXX-xxx วิชาเลือกสาขา 3
XXX-xxx วิชาเลือกสาขา 4
รวม 18 (18-0-36)
ภาคการศึกษาที่ 2
SCM-317 โลจิสติกส์และโซ่อุปทานแบบลีน (Lean Logistics)
SCM-322 เทคโนโลยีการวางแผนและควบคุมโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน
XXX-xxx วิชาเลือกสาขา 5
XXX-xxx วิชาเลือกสาขา 6
XXX-xxx วิชาเลือกเสรี 1
SCM-394 การบูรณาการการเรียนรู้ร่วมกับการทำงานด้านโลจิสติกส์ 3 (WIL 3)
รวม 16 (16-0-32)
ภาคการศึกษาที่ 1
SCM-430 ระบบการวางแผนทรัพยากรองค์กร (ERP)
XXX-xxx วิชาเลือกสาขา 7
XXX-xxx วิชาเลือกสาขา 8
XXX-xxx วิชาเลือกเสรี 2
SCM-491 เตรียมสหกิจศึกษา
รวม 13 (12-2-24)
ภาคการศึกษาที่ 2
SCM-492 สหกิจศึกษา
รวม 6 (0-40-10)