บริหารธุรกิจบัณฑิต (การจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน)

Bachelor of Business Administration (Logistics and Supply Chain Management)


Thai-Nichi Institute of Technology

หลักสูตร การจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน (LM)

เหมาะกับผู้ทำงานสายโลจิสติกส์ ทั้งในโรงงานและนอกโรงงาน และจบ ปวส. สายบริหารธุรกิจหรือสายโลจิสติกส์ สายช่าง
วิชาที่เรียน เช่น
  • การวัดผลการปฏิบัติงานทางโลจิสติกส์
  • การจัดการคลังสินค้า
  • การจัดหาและจัดซื้อในโซ่อุปทาน
  • การจัดการต้นทุนทางโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน
  • การจัดการการขนส่งและการกระจายสินค้า
  • การวางแผนและควบคุมโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน
จำนวนหน่วยกิตรวม 127 หน่วยกิต
เทียบโอนได้ - หน่วยกิต
เรียน - หน่วยกิต

+ รายละเอียดเพิ่มเติม

 สมัครเรียน  กลับหน้าหลัก

จุดเด่นของหลักสูตร

1. หลักสูตรมีเนื้อหาและองค์ความรู้ด้านการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน โดยเน้นทฤษฎีและการปฏิบัติในสถานประกอบการภาคธุรกิจอุตสาหกรรมจริงในการบริหารจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทานสมัยใหม่ โดยมีแนวคิดในการสร้างหลักสูตรเป็น 3 ส่วน คือ
  • ทักษะพื้นฐานด้านการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน
  • การวางแผนและวิเคราะห์โลจิสติกส์และโซ่อุปทาน
  • เทคโนโลยีสารสนเทศในการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน
2. หลักสูตรมีการบูรณาการด้านการการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน ที่มีสมรรถนะการนำความรู้ในสาขาไปประยุกต์ใช้ด้วยเครื่องมือการบริหารจัดการสไตล์ญี่ปุ่นแบบ Monodzukuri ด้วยการจัดการเรียนการสอน LM Addicted Projectsตลอดทั้ง 4 ชั้นปี จนมีความสามารถด้านภาษาต่างประเทศทั้งภาษาอังกฤษและภาษาญี่ปุ่น
3. มีโอกาสในการขอรับรองคุณวุฒิวิชาชีพ ด้านโลจิสติกส์ โดย สถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ (องค์การมหาชน)
4. มีโอกาสเข้าร่วมโครงการแลกเปลี่ยนกับมหาวิทยาลัยในประเทศญี่ปุ่นและต่างประเทศ หรือการทัศนศึกษาดูงานระหว่างประเทศ

โอกาสหลังสำเร็จการศึกษา

1. ระดับปปฏิบัติการ เช่น ฝ่ายจัดซื้อ ฝ่ายผลิต ฝ่ายจัดส่งและคลังสินค้า ฝ่ายควบคุมวัตถุดิบ ฝ่ายซัพพลายเชนและโลจิสติกส์ ฝ่ายการขนส่ง
2. ระดับบริหาร เช่น นักวิเคราะห์ด้านโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน นักวางแผน วัตถุดิบ การผลิตหรือการกระจายสินค้า นักวิเคราะห์กระบวนการทางธุรกิจ Logistics Analyst, Material Planner, Operations Analyst, Procurement Manager, Supply Chain Analyst, Business Process Analyst, Operations Manager
3. รับราชการในหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น กรมการขนส่งทางน้ำ และพาณิชย์นาวี กรมประมง กรมการขนส่งทางอากาศ กรมศุลกากร และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง นักวิชาการ นักวิจัย อาจารย์ในสาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์
4. ประกอบธุรกิจส่วนตัว เช่น นำเข้าและส่งออก ผู้ให้บริการทางด้าน โลจิสติกส์ ตัวแทนขนส่งทางบก ทางทะเล หรือทางอากาศ

คุณสมบัติ


1. ทำงานในองค์กรหรือสถานประกอบการ และมีประสบการณ์การทำงานอย่างน้อย 6 เดือนขึ้นไป (กรณี 1 ปีขึ้นไปจะพิจารณาเป็นพิเศษ)
2. มีใบรับรองการผ่านประสบการณ์การทำงานจากสถานประกอบการหรือองค์กรทั้งภาครัฐบาลหรือเอกชน
3. สำเร็จการศึกษาระดับอนุปริญญา (ปวส.)

ค่าใช้จ่ายตลอดหลักสูตร

วัน-เวลาเรียน


เรียนเฉพาะวันอาทิตย์
เวลา 8.00- 18.00 น.
(ระยะชั่วโมงการเรียนการสอนสามารถปรับเปลี่ยนตามโครงสร้างหลักสูตร)