จากสถาบันการศึกษาสไตล์ญี่ปุ่นด้วย Monodzukuri

     สถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่นก่อตั้งขึ้นมาเมื่อปี พ.ศ. 2550 เพื่อสร้างบุคลากรสไตล์ญี่ปุ่น ด้วยคำขวัญที่ว่า “แตกต่างด้วยภาษา ก้าวหน้าด้วยนวัตกรรม วัฒนธรรมที่หลากหลาย” นักศึกษาทุกคนได้เรียนภาษาญี่ปุ่นเพื่อเรียนรู้วัฒนธรรมญี่ปุ่น วิถีญี่ปุ่นที่เป็นประโยชน์ในการทำงานและการใช้ชีวิต การเรียนการสอนมีเครื่องมืออุปกรณ์ที่ทันสมัยจากญี่ปุ่น นักศึกษาได้มีโอกาสใช้ในการทำโครงการ อาจารย์มีโอกาสสร้างงานวิจัยและนวัตกรรมที่หลากหลายสู่สังคม ไม่ว่าจะเป็นทางด้านยานยนต์ไฟฟ้า ยานยนต์อัตโนมัติ  Factory Automation, Robotics, Automation manufacturing, Lean Manufacturing System, Lean logistics and Supply chain รวมทั้งแนวโน้มเทคโนโลยีที่จะใช้ใน New S curve และความต้องการใหม่ทางสังคม เช่น Decarbonization, New Material ยังมีนวัตกรรมทางด้าน IT และบริหารธุรกิจ เช่น Business Innovation and Development แนวทางต่อไปคือ การสร้าง COE (Center of Excellent) ในทุกๆ ด้านไม่ว่าจะเป็น วิศวกรรมศาสตร์ เทคโนโลยีสารสนเทศ บริหารธุรกิจ ภาษาและวัฒนธรรม

    การเรียนการสอนใช้ปรัชญาที่เรียกว่า Monodzukuri หรือคิดเป็นทำเป็น คิดจริงทำจริง ด้วยสไตล์ญี่ปุ่น หมายถึง สิ่งที่เรียกว่า 4 P ได้แก่  Project-Based learning , Problem-Based learning, Practice-Based learning, Personalized learning


ก้าวไปสู่ความเป็นสากล

     วัฒนธรรมที่หลากหลาย (Multi Culturalism) นอกจากวัฒนธรรมญี่ปุ่น ทั้งวัฒนธรรมการใช้ชีวิต ปรัชญาการใช้ชีวิต รวมถึงวัฒนธรรมการทำงานและบริหารสไตล์ญี่ปุ่นแล้ว สถาบันฯ ยังก้าวไปสู่ความสากลด้วยวัฒนธรรมสมัยใหม่ (Modern Japanese culture) นอกจากนี้ การสร้างหลักสูตรนานาชาติ ไปถึงการก่อตั้งวิทยาลัยนานาชาติ (Thai-Nichi International College) หรือ TNIC ที่มีหลักสูตรที่หลากหลาย ทั้งด้านวิศวกรรมศาสตร์ เทคโนโลยีสารสนเทศ บริหารธุรกิจระหว่างประเทศ และภาษาญี่ปุ่นเพื่อธุรกิจระหว่างประเทศ ประกอบด้วยนักศึกษาจากต่างประเทศที่หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็น ฟิลิปปินส์ ญี่ปุ่น อินเดีย แอลจีเรีย ภูฏานและอื่นๆ ทำให้ภายในสถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น เริ่มมีวัฒนธรรมที่หลากหลายมากยิ่งขึ้น 

   อีกสิ่งหนึ่งที่แสดงถึงความเป็นนานาชาติคือ การมีความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยต่างประเทศโดยเฉพาะญี่ปุ่น และยังมีจากสหรัฐอเมริกา ออสเตรเลีย อังกฤษ อินเดีย อินโดนีเซีย บังคลาเทศ มาเลเซีย ลาว รวมกว่า 90 แห่ง ที่มีการแลกเปลี่ยนนักศึกษา การวิจัยร่วมกัน การรับนักศึกษาจากประเทศเหล่านั้นเข้ามาเรียนในวิทยาลัยนานาชาติมากขึ้น วิทยาลัยนานาชาติจะเป็นคณะหลัก อีกคณะหนึ่งของสถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น ที่ช่วยเชื่อมโยงความร่วมมือในระดับนานาชาติ นี่คือการสร้างความเป็นนานาชาติ และความเป็นสากล เป็นอีกก้าวหนึ่งของสถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่นที่จะก้าวไปสู่สถาบันการศึกษาชั้นนำของประเทศไทย

การไปสู่ Digital University 

    Digital University เป็นอีกเป้าหมายหนึ่งที่จะสร้างให้สถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น เข้าสู่ความเป็นเลิศ ในยุคของ Digital นี้ การปฏิรูปทางด้านดิจิทัลหรือ Digital transformation เป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้สำหรับสถาบันการศึกษาในปัจจุบัน ซึ่งเป้าหมายสุดท้ายคือการเป็น Digital University การมีระบบการเรียนการสอนที่ใช้ Digital tool & System ที่ให้นักศึกษาเรียนรู้ด้วยเครื่องมือที่หลากหลาย  รวมทั้งการเรียนแบบ On-Line curriculum ที่สนองตอบการเรียน Lifelong Education ที่สามารถเรียนได้ Any time, Any where, การบริหารการเรียนการสอน ให้บริการการลงทะเบียนที่รวดเร็วและถูกต้องแม่นยำ เพื่อให้นักศึกษามีความพึงพอใจ การมีข้อมูลที่ถูกต้อง ทันสมัย สนองตอบความต้องการได้ทันที

    การบริหารงานภายใน หรือ Back Yard Management เช่น งานบริหารบุคลากร การบริหารบัญชีและการเงิน จะต้องสร้างให้มีความรวดเร็ว แม่นยำ  สามารถวางแผนและแก้ไขปัญหาได้ทันท่วงทีอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล การบริหารอาคารสถานที่ จะต้องเปลี่ยนไปเป็น Smart Building Management รวมทั้งการจัดการด้านการจราจรภายในสถาบันฯ การสร้างระบบ IT ภายในเพื่อให้นักศึกษา และบุคลากร สามารถใช้งานและใช้ประโยชน์ได้อย่างมีความสุข กระบวนการรับนักศึกษาจะต้องใช้ข้อมูลที่หลากหลาย และทันสมัย มีกระบวนการและวิธีการทางด้าน Digital Marketing เข้ามาสนับสนุนกระบวนรับสมัคร กระบวนการต่างๆ เหล่านี้สามารถสนองตอบแนวคิด Lean Management คือการบริหารองค์กรด้วยวิธีการและเทคโนโลยีเพื่อให้องค์กรมีความกระทัดรัด ประหยัด และใช้ทรัพยากรได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงสุด

    ทางด้าน Stake Holder ได้แก่ ผู้ปกครอง ศิษย์เก่า บริษัทองค์กรภายนอกต่างๆ จะต้องมีระบบการสื่อสาร ระบบข้อมูล ที่สามารถสื่อสารร่วมกันได้อย่างรวดเร็ว และถูกต้อง เพื่อสนับสนุนซึ่งกันและกันได้อย่างมีประสิทธิภาพและเชื่อมโยงความร่วมมือให้เกิดประสิทธิผล

    สถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่นได้วาง Road Map 5 ปี ไปสู่การเป็น Digital University ในสไตล์ของสถาบันฯเอง เพื่อพิสูจน์ให้เห็นว่า สถาบันการศึกษาเล็กๆ ก็มีสิทธิที่จะมีความเป็นเลิศได้ ไม่ต่างกับประเทศสิงคโปร์ ที่เป็นประเทศเล็ก แต่มีความเป็นเลิศอย่างมาก ด้วย Man, Management and Technology ให้สมกับเป็นชื่อสถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น 



SHARE :