ช่วงเวลาที่เปลี่ยนผ่านเริ่มตั้งแต่ยุคปฏิวัติอุตสาหกรรมมาจนถึงยุคโลกาภิวัฒน์ หลายสิ่งเปลี่ยนแปลง และปรับตัว หลายธุรกิจเกิดมา และตายไป แล้วกลยุทธ์ใดล่ะสำคัญที่สุดต่อการอยู่รอด


          นี่เป็นสิ่งสำคัญที่นักการตลาดต้องหาคำตอบให้กับมัน สุดแล้วแต่ว่าจะงัดกลยุทธ์ กระบวนท่าพิเศษใดมา แต่ไม่ว่ากลยุทธ์แบบไหน มันจะดีกว่าหรือไม่ ถ้าเรามีต้นแบบให้ศึกษา…

ถ้าเราอยากมองต้นแบบของการฝ่าวิกฤต กรณีศึกษาการรับมือกับวิกฤตจากประเทศญี่ปุ่นถือเป็นกรณีหนึ่งที่น่าสนใจยิ่ง เพราะแดนปลาดิบแห่งนี้ผ่านวิกฤตมามากมาย ทั้งสงคราม สึนามิ หรือล่าสุดอย่างเหตุการณ์ที่แผนดินไหว ที่ส่งความเสียหายแก่จังหวัดฟูกูชิมะแต่ทำไมกันล่ะ แบรนด์สินค้าที่ยิ่งใหญ่ของญี่ปุ่น ยังคงอยู่และยิ่งใหญ่เหมือนเดิม

          ในช่วงปี 2002 UNIQLO ประสบกับวิกฤติ จำเป็นต้องปิดสาขาที่อังกฤษถึง 16 สาขา เพราะยอดขายที่ลดลงแบบไม่ทันตั้งตัว ทำให้เหลือสินค้าค้างสต็อกมากมาย “ทาดาชิ ยานาอิ” ประธานบริหาร UNIQLO ทบทวนแผนการตลาดใหม่ทั้งหมด เขาปรับปรุง เปลี่ยนแปลงทุกอย่างเพื่อการอยู่รอด ยกเว้น “คุณภาพที่ดีของเสื้อผ้า” เท่านั้น ที่เขาไม่ยอมเปลี่ยนให้คุณภาพลดลง ไม่ต่างอะไรกับฟูจิ ผู้ผลิตกล้องและฟิล์มยักษ์ใหญ่ของญี่ปุ่นที่โดนคลื่นยักษ์ของระบบดิจิตอลโถมเข้าใส่ การเปลี่ยนผ่านของฟูจิก็มีทุลักทุเลบ้าง ในขณะที่คู่แข่งต้องโบกมือลาไปก่อน ฟูจิถือว่าทำได้อย่างยอดเยี่ยม ถึงแม้จะมีคู่แข่งเข้ามามากมายสุดท้าย ฟูจิก็ยังคงอยู่อย่างสง่าผ่าเผย ผู้คนก็ยังคงจดจำและเลือกใช้ฟูจิเพราะ ”คุณภาพ” ที่พวกเขาปกปักษ์รักษาไว้มาจนถึงปัจจุบัน

          นี่คือสิ่งที่ผมคิดได้จากการตั้งคำถามกับตัวเอง หลัจากการซื้อหมึกย่างแถวบนไปเป็นอาหารว่างมื้อเย็น ทุกครั้งผมจะซื้อแต่แถวบนเพราะผมเชื่อว่ามันตัวใหญ่ที่สุด และคุณภาพดีที่สุดเพราะเขาทำแบบนี้มานาน


          มันเป็นเรื่องที่น่าสนใจและปฏิเสธไม่ได้ว่าคุณภาพสินค้า และบริการที่ดีคือสิ่งที่ลูกค้าคาดหวังเสมอ และถ้าเราทำให้ความคาดหวังนั้นเป็นจริง ลูกค้าก็ยังคงไม่หายไป

เพราะเป็นสิ่งสำคัญ เราจึงหยิบมาและถ่ายทอดสิ่งสำคัญผ่านรายวิชา  การตลาดและการพัฒนาการบริการสไตล์ญี่ปุ่น


“จงถ่ายทอดทุกอย่างให้นักศึกษาด้วยคุณภาพที่ดีอย่างที่เป็นมา
และอย่าทำให้นักศึกษาต้องผิดหวัง..เพราะเราไปลดคุณภาพลง”

          นี่คือข้อคิดจาก ผศ. รังสรรค์ เลิศในสัตย์ คณบดีคณะบริหารธุรกิจ สถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น และเป็นแรงบันดาลใจที่สำคัญของเราที่จะมุ่งมั่น สร้างสรรค์ และพัฒนาคุณภาพนักศึกษาต่อไป สาขาวิชาการตลาดเชิงสร้างสรรค์ (Creative Marketing)

           “อาจจะเป็นแค่ผมคนเดียวก็ได้...ที่เชื่อว่าปลาหมึกแถวบนที่ตัวใหญ่และคุณภาพดีที่สุดเพราะเขาทำแบบนี้มานาน แต่อย่างน้อยก็มีผมเนี่ยแหละที่เชื่อไปแล้ว”

                   By: ทีชเชอร์บิว #CM-TNI




SHARE :