เทคโนโลยีวิศวกรรม

หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาเทคโนโลยีวิศวกรรม (MET) พัฒนามหาบัณฑิตให้เชี่ยวชาญด้านวิศวกรรมและเทคโนโลยี พร้อมรับมือการเปลี่ยนแปลงโลกด้วยปรัชญาการเรียนรู้ที่ยืดหยุ่นและทันสมัย เรามุ่งเน้นสร้างบัณฑิตที่ " เก่งงานวิศวกรรม รู้ทันเทคโนโลยี โมโนซุคุริได้สไตล์ญี่ปุ่น " ผสานความรู้เทคโนโลยีวิศวกรรมเข้ากับทักษะการบริหารจัดการองค์กร การคิดเชิงกลยุทธ์ และการแก้ไขปัญหา เพื่อตอบโจทย์ตลาดงานและสร้างสรรค์นวัตกรรมหลักสูตร MET ปรับปรุงล่าสุดสำหรับปีการศึกษา 2569 โดยแบ่งเป็น 3 แขนงวิชาหลัก ได้แก่
วิศวกรรมการจัดการอุตสาหกรรมและการผลิต
วิศวกรรมคอมพิวเตอร์และปัญญาประดิษฐ์
วิศวกรรมไฟฟ้าและเทคโนโลยีพลังงาน

อาจารย์ผู้รับผิดชอบและประจำหลักสูตรวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต : สาขาเทคโนโลยีวิศวกรรม

...
ผศ.ดร.นพดล ศรีพุทธา
...
รศ.ดร.จินตวัฒน์ ไชยชนะวงศ์
...
ผศ.ดร. วิภาวดี วงษ์สุวรรณ์
...
ผศ.ดร.พิมพ์เพชร สระทองอุ่น
...
ดร.อัดนา เซนโต๊ะ

อาจารย์ประจำหลักสูตรวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต : สาขาเทคโนโลยีวิศวกรรม

...
ดร.วัชรินทร์ หนูทอง
...
รศ.ดร.วรากร ศรีเชวงทรัพย์
...
รศ.ดร.พิศุทธิ์ พงศ์ชัยฤกษ์
...
ดร.มหรรณพ ฟักขาว
...
ผศ.ดร.พรชัย นิเวศน์รังสรรค์
...
ดร.ดอน แก้วดก
...
ดร.เอกอุ ธรรมกรบัญญัติ
...
ดร.ไพศาล สุดวิลัย
...
ผศ.ดร.กันติชา กิตติพีรชล
...
ดร.ชัชไชย วรรณบูรณ์

ชื่อปริญญาและสาขาวิชา

ชื่อเต็ม (ภาษาไทย)

  • วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต (เทคโนโลยีวิศวกรรม)

ชื่อย่อ (ภาษาไทย)

  • วศ.ม. (เทคโนโลยีวิศวกรรม)

ชื่อเต็ม (ภาษาอังกฤษ)

  • Master of Engineering (Engineering Technology)

ชื่อย่อ (ภาษาอังกฤษ)

  • M.Eng. (Engineering Technology)

จุดเด่นของหลักสูตร

มหาบัณฑิตของเรามีศักยภาพในการประยุกต์ใช้องค์ความรู้และเทคโนโลยีสมัยใหม่ เพื่อแก้ไขปัญหาในภาคอุตสาหกรรมอย่างบูรณาการ พร้อมพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง มีทักษะการคิดวิเคราะห์ การสื่อสาร และความเป็นผู้นำ ควบคู่ไปกับการยึดมั่นในคุณธรรม จรรยาบรรณ และความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน

คุณสมบัติผู้สมัคร

สำเร็จการศึกษาไม่ต่ำกว่าระดับปริญญาตรี ด้านวิศวกรรมศาสตร์ทุกสาขา รวมถึงสาขาที่เกี่ยวข้องกับด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี อาทิ วิทยาศาสตร์ ครุศาสตรอุตสาหกรรม อุตสาหกรรมศาสตร์
เทคโนโลยีอุตสาหกรรม เทคโนโลยีสารสนเทศ การจัดการอุตสาหกรรม บริหารธุรกิจ หรือสาขาอื่นที่เกี่ยวข้อง จากสถาบันการศึกษาที่สานักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) หรือ สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (กพ.) รับรอง

โครงสร้างหลักสูตร (ปรับปรุงปี 2569)

จำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตร (ไม่น้อยกว่า) 36 หน่วยกิต
(1) หมวดวิชาบังคับ 9 หน่วยกิต
(2) หมวดวิชาเฉพาะ 15 หน่วยกิต
(3) วิทยานิพนธ์ 12 หน่วยกิต

แผนการศึกษา