เทคโนโลยีมัลติมิเดีย

สาขาเทคโนโลยีมัลติมีเดีย เป็นหลักสูตรหนึ่งที่สอดคล้องกับปรัชญาของสถาบันฯ โดยเน้นการศึกษาควบคู่กับการฝึกปฏิบัติจริง เทคโนโลยีมัลติมีเดียมีลักษณะเป็นการผสมผสานกันขององค์ความรู้ทางด้านคอมพิวเตอร์การสื่อสาร และความรู้ทางด้านศิลปะเข้าด้วยกัน โดยนำเสนอผลงานผ่านวิทยาการด้านเทคโนโลยีมัลติมีเดียและการสื่อสาร ซึ่งจะต้องมีพื้นฐานความรู้ทั้งทางด้านเทคโนโลยีและศิลปะเป็นสำคัญ บุคลากรในสายอาชีพมัลติมีเดียจึงเป็นที่ต้องการสูงของวงการอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์แอนิเมชั่นและมัลติมีเดีย หลักสูตรเทคโนโลยีมัลติมีเดียนี้ มุ่งผลิตบัณฑิตที่มีความรู้ ความชำนาญ เสริมสร้างประสบการณ์ พัฒนาบัณฑิตที่มีศักยภาพทางเทคโนโลยีมัลติมีเดียสำหรับธุรกิจอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์มัลติมีเดีย เป็นนักพัฒนา/ออกแบบผลิต และบริหารโครงงานมัลติมีเดีย คอมพิวเตอร์แอนิเมชั่นและกราฟฟิก โดยเน้นการศึกษาควบคู่กับฝึกปฏิบัติจริง สามารถทำงานด้านแอนิเมชั่น เช่น ธุรกิจการค้าทางอินเตอร์เนต ธุรกิจที่ใช้โทรศัพท์มือถือ ธุรกิจภาพยนตร์ ธุรกิจโฆษณา หรือทำงานในสายงานคอมพิวเตอร์กราฟฟิก การพัฒนาเว็บไซต์ ตลอดจนงานอื่นๆ และสามารถศึกษาต่อในระดับปริญญาโทสาขาต่างๆ ได้อย่างกว้างขวางทั้งในประเทศและต่างประเทศ

อาจารย์ประจำหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต : สาขาวิชาเทคโนโลยีมัลติมิเดีย

...
อ.นิติรัตน์ ตัณฑเวช
...
ดร.ประมุข บุญเสี่ยง
...
ดร.อภิชญา นิ้มคุ้มภัย
...
อ.สุหฤท วินิจฉัยกุล
...
อ.ดร.ภูวดล ศิริกองธรรม
...
อ.สาเรศ วันโสภา
...
ผศ.ดร.ฐิติพร เลิศรัตน์เดชากุล
...
อ.รุ่งภพ ปรีชาวิทย์
...
ผศ.ณิชกานต์ ไชยจักร์

ชื่อปริญญาและสาขาวิชา

ชื่อเต็ม (ภาษาไทย)

  • วิทยาศาสตรบัณฑิต (เทคโนโลยีมัลติมีเดีย)

ชื่อย่อ (ภาษาไทย)

  • วท.บ. (เทคโนโลยีมัลติมีเดีย)

ชื่อเต็ม (ภาษาอังกฤษ)

  • Bachelor of Science (Multimedia Technology)

ชื่อย่อ (ภาษาอังกฤษ)

  • B.Sc. (Multimedia Technology)

โอกาสในการประกอบอาชีพ

  1. ทำงานในสถานประกอบการภาคธุรกิจ โดยมีความชำนาญในการออกแบบระบบมัลติมีเดีย การใช้เครื่องมือช่วยในการพัฒนาและออกแบบ
  2. ประกอบธุรกิจส่วนตัวทางด้านเทคโนโลยีมัลติมีเดีย เช่น เป็นผู้วางระบบมัลติมีเดีย เป็นที่ปรึกษาทางด้านเทคโนโลยีมัลติมีเดีย
  3. ศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้นทั้งในประเทศและต่างประเทศ

โครงสร้างหลักสูตร

จำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตร (ไม่น้อยกว่า) 132 หน่วยกิต
(1) หมวดวิชาศึกษาทั่วไป ไม่น้อยกว่า 36 หน่วยกิต
1.1 กลุ่มวิชามนุษยศาสตร์ 3 หน่วยกิต
1.2 กลุ่มวิชาสังคมศาสตร์ 3 หน่วยกิต
1.3 กลุ่มวิชาวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ 6 หน่วยกิต
1.4 กลุ่มวิชาภาษา 24 หน่วยกิต
(2) หมวดวิชาเฉพาะ ไม่น้อยกว่า 90 หน่วยกิต
2.1 กลุ่มวิชาพื้นฐาน 28 หน่วยกิต
2.2 กลุ่มวิชาบังคับสาขา 34 หน่วยกิต
2.3 วิชาเลือก - หน่วยกิต
2.3.1 แผนสหกิจศึกษา 21 หน่วยกิต
2.3.2 แผนฝึกงานและทําโครงงาน 24 หน่วยกิต
2.4 วิชาประสบการณ์ภาคสนาม - หน่วยกิต
2.4.1 แผนสหกิจศึกษา 7 หน่วยกิต
2.4.2 แผนฝึกงานและทําโครงงาน 4 หน่วยกิต
(3) หมวดวิชาเลือกเสรี ไม่น้อยกว่า 6 หน่วยกิต

แผนการศึกษา